วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

3. หลักการจัดการความรู้

 

http://portal.in.th/learninghome/pages/12089/ (2556:1) ได้รวบรวมไว้ว่า หลักการ 4 ประการของการจัดการความรู้ ประกอบไปด้วย
           1. ให้คนหลากหลายทักษะ หลากหลายวิธีคิด ทำงานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์
           2. ร่วมกันพัฒนาวิธีทำงานในรูปแบบใหม่ ๆ เพื่อบรรลุประสิทธิผลที่กำหนดไว้ หรือฝันว่าจะได้ ในการจัดการสมัยใหม่ ประสิทธิผล ประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 ประการ คือ
                              การตอบสนองความต้องการ (Responsiveness) ซึ่งอาจเป็นความต้องการของลูกค้า  ความต้องการของสังคม หรือความต้องการที่กำหนดโดยผู้บริหารองค์กร
                             นวัตกรรม (Innovation) ซึ่งอาจเป็นนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ หรือวิธีการใหม่ ๆ ก็ได้
                             ขีดความสามารถ (Competency) ของข้าราชการ และขององค์กร
                             ประสิทธิภาพ (Efficiency) ในการทำงาน
       3. ทดลองและเรียนรู้
       4. นำเข้าความรู้จากภายนอกอย่างเหมาะสม  การดำเนินการจัดการความรู้ในหน่วยราชการควรใช้หลักการ "พลังสาม รวมเป็นหนึ่งเดียว"
                           (1) ใช้พลังของระบบ "ราชการประจำ" ซึ่งมีการทำงานตามกฎระเบียบ มีรูปแบบที่ชัดเจน
                           (2) ใช้พลังของ "ระบบแห่งความสร้างสรรค์" มีการทดลองรูปแบบใหม่ ๆ ของการทำงานเป็น project team ทำงานมุ่งเป้าในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ภายใต้แนวคิดของ "ระบบที่ซับซ้อนและปรับตัว" (complex-adaptive system)
                          (3) ใช้พลังสร้างสรรค์ที่มีอยู่แล้วภายในองค์กร ในรูปของการรวมตัวกันเองเป็นกลุ่ม
เชื่อมโยงกับระบบราชการประจำ และระบบแห่งการสร้างสรรค์ เน้นที่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่จะนำไปสู่การพัฒนา best practices จากการเรียนรู้ จากการทำงานภายในองค์กร และการ "ตรวจจับ" (capture) ความรู้จากภายนอกองค์กรเอามาปรับใช้ในการทำงาน

web.sut.ac.th/ces/km/km1.pdf  (2556:1) ได้รวบรวมไว้ว่า หลักการสำคัญ 4 ประการ ได้แก่
             1. ให้คนหลากหลายทักษะ หลากหลายวิธีคิด ทำงานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์  การจัดการความรู้ที่มีพลังต้องทำโดยคนที่มีพื้นฐานแตกต่างกัน มีความเชื่อหรือวิธีคิดแตกต่างกัน (แต่มีจุดรวมพลังคือ มีเป้าหมายอยู่ที่งานด้วยกัน) ถ้ากลุ่มที่ดำเนินการจัดการความรู้ประกอบด้วยคนที่คิดเหมือน ๆ กัน การจัดการความรู้จะไม่มีพลังในการจัดการความรู้ ความแตกต่างหลากหลาย (Heterogeneity) มีคุณค่ามากกว่าความเหมือน (homogeneity)
            2. ร่วมกันพัฒนาวิธีทำงานในรูปแบบใหม่ ๆ เพื่อบรรลุประสิทธิผลที่กำหนดไว้ หรือฝันว่าจะได้ ในการจัดการสมัยใหม่ ประสิทธิผลประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 ประการ คือ
                    - การตอบสนองความต้องการ (Responsiveness) ซึ่งอาจเป็นความต้องการของลูกค้าความต้องการของสังคม หรือความต้องการที่กำหนดโดยผู้บริหารองค์กร
                   - นวัตกรรม (Innovation) ซึ่งอาจเป็นนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ หรือวิธีการใหม่ ๆ ก็ได้
                       - ขีดความสามารถ (Competency) ของข้าราชการ และขององค์กร
                       - ประสิทธิภาพ (Efficiency) ในการทำงาน
             3. ทดลองและเรียนรู้ เนื่องจากกิจกรรมการจัดการความรู้เป็นกิจกรรมสร้างสรรค์ ซึ่งหมายความว่าต้องคิดแบบหลุดโลกจึงต้องมีวิธีดึงกลับมาสู่ความเป็นจริงในโลก หรือในสังคมโดยการทดลองทำเพียงน้อย ๆ ซึ่งถ้าล้มเหลวก็ก่อผลเสียหายไม่มากนัก ถ้าได้ผลไม่ดีก็ยกเลิกความคิดนั้น ถ้าได้ผลดีจึงขยายการทดลองเป็นทำมากขึ้น จนในที่สุดขยายเป็นวิธีทำงานแบบใหม่ หรือได้ Best Practice ใหม่นั่นเอง
            4. นำเข้าความรู้จากภายนอกอย่างเหมาะสม โดยต้องถือว่าความรู้จากภายนอกยังเป็นความรู้ที่ยังดิบอยู่ ต้องเอามาทำให้สุกให้พร้อมใช้ในบริบทของเรา โดยการเติมความรู้เชิงบริบทลงไป

   http://kmcenter.rid.go.th/kcperson/index2-2.html  (2556:1)  ได้รวบรวมไว้ว่า   หลักการ 4 ประการของการจัดการความรู้
   1. ให้คนหลากหลายทักษะ หลากหลายวิธีคิด ทำงานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์
                              การจัดการความรู้ที่มีพลังต้องทำโดยคนที่มีพื้นฐานแตกต่างกัน มีความเชื่อหรือวิธีคิดแตกต่างกัน (แต่มีจุดรวมพลัง คือ มีเป้าหมายอยู่ที่งานด้วยกัน) ถ้ากลุ่มที่ดำเนินการจัดการความรู้ ประกอบด้วยคนที่คิดเหมือน ๆ กัน การจัดการความรู้จะไม่มีพลัง   ในการจัดการความรู้ ความแตกต่างหลากหลาย (Heterogeneity) มีคุณค่ามากกว่าความเหมือน (homogeneity)
 2. ร่วมกันพัฒนาวิธีทำงานในรูปแบบใหม่ ๆ 
                              เพื่อบรรลุประสิทธิผลที่กำหนดไว้ หรือฝันว่าจะได้ ในการจัดการสมัยใหม่ ประสิทธิผลประกอบด้วยองค์ประกบ 4 ประการ คือ
                   - การตอบสนองความต้องการ (Responsiveness) ซึ่งอาจเป็นความต้องการของลูกค้า ความต้องการของสังคม หรือความต้องการที่กำหนดโดยผู้บริหารองค์กร
                  - นวัตกรรม (Innovation) ซึ่งอาจเป็นนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ หรือวิธีการใหม่ ๆ ก็ได้
                  - ขีดความสามารถ (Competency) ของข้าราชการ และขององค์กร
                  - ประสิทธิภาพ (Efficency) ในการทำงาน
3. ทดลองและเรียนรู้ 
                             เนื่องจากกิจกรรมการจัดการความรู้เป็นกิจกรรมสร้างสรรค์ ซึ่งหมายความว่าต้องคิดแบบ "หลุดโลก" จึงต้องมีวิธีดึงกลับมาสู่ความเป็นจริงในโลก หรือในสังคม โดยการทดลองทำเพียงน้อย ๆ ซึ่งถ้าล้มเหลวก็ก่อผลเสียหายไม่มากนัก ถ้าได้ผลไม่ดีก็ยกเลิกความคิดนั้น ถ้าได้ผลดีจึงขยายการทดลองเป็นทำมากขึ้น จนในที่สุดขยายเป็นวิธีทำงานแบบใหม่ หรือได้ Best Practice ใหม่นั่นเอง
4. นำเข้าความรู้จากภายนอกอย่างเหมาะสม
                             โดยต้องถือว่าความรู้จากภายนอกยังเป็นความรู้ที่ยัง "ดิบ" อยู่ ต้องเอามาทำให้ "สุก" ให้พร้อมใช้ในบริบทของเรา โดยการเติมความรู้เชิงบริบทลงไป

สรุป   หลักการจัดการความรู้ มีอยู่ 4 หลักการด้วยกันคือ

          1. ให้คนหลากหลายทักษะ หลากหลายวิธีคิด ทำงานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์
                                          การจัดการความรู้ที่มีพลังต้องทำโดยคนที่มีพื้นฐานแตกต่างกัน มีความเชื่อหรือวิธีคิดแตกต่างกัน (แต่มีจุดรวมพลัง คือ มีเป้าหมายอยู่ที่งานด้วยกัน) ถ้ากลุ่มที่ดำเนินการจัดการความรู้ ประกอบด้วยคนที่คิดเหมือน ๆ กัน การจัดการความรู้จะไม่มีพลัง   ในการจัดการความรู้ ความแตกต่างหลากหลาย (Heterogeneity) มีคุณค่ามากกว่าความเหมือน (homogeneity)

          2. ร่วมกันพัฒนาวิธีทำงานในรูปแบบใหม่ ๆ
                           เพื่อบรรลุประสิทธิผลที่กำหนดไว้ หรือฝันว่าจะได้ ในการจัดการสมัยใหม่ ประสิทธิผลประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 ประการ คือ
                          - การตอบสนองความต้องการ (Responsiveness) ซึ่งอาจเป็นความต้องการของลูกค้าความต้องการของสังคม หรือความต้องการที่กำหนดโดยผู้บริหารองค์กร
                          - นวัตกรรม (Innovation) ซึ่งอาจเป็นนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ หรือวิธีการใหม่ ๆ ก็ได้
                         - ขีดความสามารถ (Competency) ของข้าราชการ และขององค์กร
                         - ประสิทธิภาพ (Efficiency) ในการทำงาน
           3.ทดลองและเรียนรู้ 
          4.นำเข้าความรู้จากภายนอกอย่างเหมาะสม
                                          โดยต้องถือว่าความรู้จากภายนอกยังเป็นความรู้ที่ยัง "ดิบ" อยู่ ต้องเอามาทำให้ "สุก" ให้พร้อมใช้ในบริบทของเรา โดยการเติมความรู้เชิงบริบทลงไป
 
 
ที่มา : ชื่อเว็บไซค์    http://portal.in.th/learninghome/pages/12089/     เข้าถึงเมื่อ  วันที่   20 กรกฎาคม  2556.

ชื่อเว็บไซค์    web.sut.ac.th/ces/km/km1.pdf    เข้าถึงเมื่อ  วันที่   20 กรกฎาคม  2556.

ชื่อเว็บไซค์    http://kmcenter.rid.go.th/kcperson/index2-2.html    เข้าถึงเมื่อ  วันที่   20 กรกฎาคม  2556.

 

 

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น